SME ไทย ส่งออก-นำเข้าสินค้า สปป.ลาว ทำไงดี ?

ภาครัฐประชาสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ถึงความนิยมสินค้าไทยในประเทศลาว โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ประชาชนลาวนิยมของนำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ เนื่องจากศักยภาพการผลิตของประเทศลาวยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นเท่ากับสินค้าที่นำเข้า โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศไทย

กฎระเบียบการส่งออกและนำเข้าสินค้าของประเทศลาว

สินค้าขาเข้าประเทศลาว แบ่งออก 4 ประเภท

1)   สินค้าทั่วไปตามแผนการนำเข้า
ผู้ประกอบการ SME ไทย ต้องเสนอแผนการนำเข้าของตนเองใน 6 เดือน หรือ 1 ปี ทำการแจ้งให้แผนกอุตสาหกรรมและการค้าแขวง หรือนครหลวงเวียงจันทน์รับทราบ และนำแผนดังกล่าวไปแจ้งไว้กับหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียว (One Stop Service) ในการนำเข้าสินค้าแต่ละครั้ง

2)   รถและส่วนประกอบของรถ ผู้ประกอบการ SME ไทย ทำการยื่นเอกสารต่อกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง เพื่อขออนุญาตด้านเทคนิค ส่วนอะไหล่และส่วนประกอบของรถต้องยื่นเอกสารขออนุญาตผ่านกรมการนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า จากนั้นให้ผู้ประกอบการ SME ไทยนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นกรมภาษี เพื่อเสียภาษีอากรตามระเบียบการ และหลังจากนั้นนำเอกสารทั้งหมดกลับคืนมากรมการนำเข้าและส่งออก เพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าและไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียว (One Stop Service)

3) สินค้าหวงห้าม ผู้ประกอบการ SME ไทย ต้องเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการอนุญาต ได้แก่ ใบเสนอ ใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารแสดงรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
เมื่อผู้ประกอบการ SME ไทยเตรียมเอกสารทั้ง 3 แล้วให้ทำการยื่นต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง จากนั้นกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะนำเสนอต่อห้องว่าการสำนักงานนายกรัฐมนตรี เพื่อขออนุญาต เมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว ผู้ประกอบการ SME ไทยที่ต้องการนำเข้า จะต้องนำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียว (One Stop Service)

4) สินค้าแขนงการคุ้มครอง  ผู้ประกอบการ SME ต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต ได้แก่ ใบเสนอ ใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารแสดงรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)

เมื่อผู้ประกอบการ SME ไทยเตรียมเอกสารทั้ง 3 แล้วให้ทำการยื่นต่อแขนงการที่เกี่ยวข้อง (กระทรวง หรือ แผนกการของแขวงหรือนครหลวงเวียงจันทน์) เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียวประจำด่าน (One Stop Service) เพื่อขอนำเข้าสินค้า

สำหรับสินค้าขาออก มีขั้นตอนต่อไปนี้
1)   สินค้าทั่วไป ผู้ประกอบการ SME ไทย ทำการยื่นเอกสารต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียวประจำด่าน เพื่อตรวจตราและปล่อยสินค้า

2)   สินค้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าคุ้มครอง (เพชรหยาบและเพชรที่เจียระไนแล้ว) ให้ผู้ประกอบการ SME ไทย ยื่นเอกสารต่อกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเพื่อขอใบอนุญาตส่งออก จากนั้นจึงนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียวประจำด่าน เพื่อตรวจตราและปล่อยสินค้า

3) สินค้าหวงห้าม ผู้ประกอบการ SME ต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต ได้แก่ ใบเสนอ ใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารแสดงรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
เมื่อผู้ประกอบการ SME ไทยเตรียมเอกสารทั้ง 3 แล้วให้ทำการยื่นต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กระทรวงที่เกี่ยวข้องจะนำเสนอต่อห้องว่าการสำนักงานนายกรัฐมนตรีเพื่อขออนุญาต เมื่อได้รับการอนุญาตแล้วผู้นำเข้าต้องนำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียว (One Stop Service) เพื่อตรวจตราและปล่อยสินค้าออก

4) สินค้าแขนงการคุ้มครอง ผู้ประกอบการ SME ต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต ได้แก่ ใบเสนอ ใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารแสดงรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)

เมื่อผู้ประกอบการ SME ไทยเตรียมเอกสารทั้ง 3 แล้ว ทำการยื่นต่อแขนงการที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงหรือแผนกการของแขวงหรือนครหลวงเวียงจันทน์) เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียวประจำด่าน (One Stop Service) เพื่อตรวจตราและปล่อยสินค้าออกการตรวจตราการขนส่งสินค้าตามเส้นทางสายต่างๆ ภายในประเทศนั้น ทาง สปป.ลาว ให้ปฏิบัติตามประกาศของนายกรัฐมนตรี ฉบับเลขที่ 12/นย. ว่าด้วยการยุติการตรวจตราการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ นอกระบบ ในการเคลื่อนย้ายสินค้าตามเส้นทางสายต่าง ๆ อยู่ภายในประเทศอย่างเข้มงวด

สินค้าใดบ้างที่ลาวสนใจนำเข้าจากไทย สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ได้เสนอรายชื่อสินค้าไทยที่น่าจะมีศักยภาพสูงสุดใน สปป.ลาว จำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวม) 2) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ  และ 3) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ  นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ระบุว่า “สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง” อย่างเช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ ก็มีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากภาคการก่อสร้างใน สปป.ลาว ขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 15 ในปี 2555 ทำให้ปูนซีเมนต์ขาดตลาดอย่างมากใน สปป.ลาว  โดยเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรเน้นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับผู้ประกอบการในสาขาที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว  ควบคู่กับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ใน สปป.ลาวให้ผู้ประกอบการไทยรับทราบมากขึ้น

ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในย่านอาเซียน 9 สาขาใน 10 ประเทศเพื่อให้บริการท่าน สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2
สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ อีเมล:AECconnect@bbl.co.thสายด่วน 1333

ที่มา http://www.bangkokbanksme.com/article/6226

Facebook Comments Box