== ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว เล่าโดย คุณธนินทร์==
คุณสุทธิชัย หยุ่นถามว่า ถ้าความสำเร็จดีใจได้วันเดียว แล้วความล้มเหลวเสียใจได้กี่วัน?
คุณธนินทร์ ตอบว่าเหมือนกัน อย่าเสียใจนาน ต้องรีบ move on อย่าล้มละลายก็แล้วกัน และอย่าเพิ่งรีบตาย
***
ใช้เวลาเขียน 8 ปีเพราะเผื่อรอว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงมั้ย มีอะไรดีกว่านี้มั้ย จะได้พูดทีเดียว เขียนเป็นหนังสือเพราะเชื่อว่าหนังสือจะยังอยู่ content มันจะไปเขียนที่ไหนก็ได้ แต่หนังสือเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้ จะผ่านไปกี่ปี เทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปแค่ไหน หนังสือยังอยู่
เคยไปหา Alibaba, Softbank เค้าก้อชวนลงทุนด้วยเลย แต่เรายังไม่เข้าใจ มองไม่เห็นภาพ จับต้องไม่ได้ เราเห็นภูเขาอยู่ตรงหน้าแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามันจะกลายเป็นทอง คิดไม่ออกว่าจะสำเร็จได้อย่างไร ไม่เหมือน 7-11 ตอนแรกที่เจ้าของแบรนด์ที่อเมริกามองไม่เห็น แต่อันนั้นเรามองเห็นว่าในไทยสำเร็จแน่นอน ถึงแม้ว่าตอนแรกต้องกำลังซื้อของคนไทยยังไม่ถึง ต้องใช้จำนวนเงินจากคนไทย 15 คนเข้าไปซื้อของใน 7-11 ถึงจะเท่าฝรั่งคนเดียว แต่อย่าลืมว่าต้นทุนเราก็ถูกกว่า 15 เท่าเช่นกัน
อะไรที่ยาก แล้วมีอนาคต ต้องทำ เพราะถ้ารอด จะประสบความสำเร็จมาก แต่ถ้าง่าย ไม่ทำเพราะคนอื่นทำไปแล้ว
เราต้องศึกษา ต้องมีข้อมูล
。
กำไรน้อย แต่ขายมาก ไม่ได้หมายความว่า กำไรน้อย
กำไรมาก ขายน้อย ไม่ได้หมายความว่า กำไรมาก
กำไรมาก ขายน้อย คือกำไรน้อย
กำไรน้อย ขายมาก คือกำไรมาก
การไปทำมอเตอร์ไซต์ที่เมืองจีน ไปเลือกเทคโนโลยีเก่าจากฮอนด้า ไม่ได้เลือกเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด แต่เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับจีน ขณะนั้นที่เป็นทนๆใช้งานหนัก ที่เข้าไปตอนนั้น เพราะจีนต้องการ Agent ที่จ่ายเป็นเงินสกุลดอลล่าร์ได้ (คุณสุทธิชัยบอกว่า สมัย 1989 ปฎิวัตเทียนอันเหมิน ทางคนทำธุรกิจต่างชาติกลัวเลยออกนอกประเทศจีนกันไปก่อน แต่ CP group กัดฟัน อยู่ต่อ ถือว่าช่วยเค้า ทางรัฐบาลจีนเลยมองเห็น CP group เป็นเพื่อน ไม่ใช่คนที่จ้องแต่จะเข้ามาทำธุรกิจ)
การลงทุนอะไรที่ไม่มีความเสี่ยงเลย .. ไม่มี แต่เราต้องเสี่ยง Start up ก็เสี่ยง เต่ถ้าเป้าหมายชัด ต้องทำ อะไรที่จะชนะ 70 แพ้ 30 จะทำ แต่ถ้าโครงการที่ใหญ่มาก ทำให้บริษัทล้มละลายได้ ถึงแม้ว่าเสี่ยง 10 ก็จะไม่ทำ บริษัทใหญ่ๆ ก็ล้มละลายเหมือนกัน ถ้าทำอะไรเกินตัว หรือไม่ยอมเปลี่ยนแปลงก็ล้มละลายได้เช่นกัน
。ช่วงมืดแปดด้านของชีวิตคือ ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 ต้องเลือกตัดขายโลตัส กับ แมคโคร แต่เลือกเก็บ Telecom Asia ไว้ เพราะเพิ่งลงทุนเคเบิลใต้ทะเลไปคิดว่าดี ตอนนั้นทำให้ Telecom Asia มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของโลก แต่คิดผิด เพราะเจอเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ราคาของใหม่ถูกลง กลายเป็นลงทุนแพงไป
ตอนเจอวิกฤตต้องตัดขาย อย่าเก็บเอาไว้ทั้งหมด อันไหนสำคัญต้องรักษาไว้ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บทุกอย่างเอาไว้ แต่ตอนวิกฤต อันที่ไม่สำคัญก็ขายไม่ออกเช่นกัน เพราะไม่มีคนซื้อ ให้ฟรียังไม่มีใครเอา
ตอนวิกฤต ตอนนั้นกู้แบงก์ต่างชาติ ในสัญญามีข้อนึงคือ ถ้าประเทศเกิดวิกฤต แบงก์จะเรียกเงินคืนทันที แต่แบงก์ไทยยังพอคุยกันได้ว่าวิกฤตไม่ได้เกิดเพราะเรา เเต่แบงก์ต่างชาติไม่ใช่ เค้าเอาคืนเลย
โลตัสจะซื้อกลับตอนนี้ต้องจ่าย 10,000 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ซื้อกลับมาไม่ไหว แมคโครซื้อกลับมาจ่ายไป 6,000 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
。
ตอนที่ธุรกิจรุ่งเรืองที่สุด…. เราต้องทำการบ้านว่า ถ้าวิกฤตมา เรารับมือไหวมั้ย เราต้องคิดเตรียมการเอาไว้ก่อน
แต่ตอนที่ชีวิตมืดที่สุด อย่าท้อ เราจะผ่านมันไปได้ เพราะเดี๋ยวแสงสว่างจะมา
。
** ส่วนประเทศไทยตอนนี้… มืดหรือยัง มองว่าน่าจะสักบ่ายสาม บ่ายสี่โมงเย็น **
การเกิด US-China Trade War เป็นโอกาสอย่างยิ่ง เพราะคนย้ายฐานหนี แต่เราไม่ฉวยโอกาสนั้นเอง
ตอนนี้รัฐบาลไทยมีเงินเยอะ เอาเงินไปซื้อ US bond 10% ก็พอ ดอกเบี้ยเค้ากำลังต่ำ บางส่วนเอามาให้ธุรกิจ เล็ก กลางกู้ก็ได้
。CP ตอนนี้มีพนักงานทั่วโลก 300,000 กว่าคนกำลังเน้นการพัฒนาผู้นำ ใช้เวลาส่วนมากไปกับโรงเรยนฝึกผู้นำ เพราะคนเก่งสร้างมูลค่าได้มากกว่า การไปซื้อธุรกิจคนเก่งมี สามอย่าง ต้องมีความสามารถ ต้องมีอำนาจ มีตำแหน่ง
คุณธนินทร์เริ่มธุรกิจตอน อายุ 21 เพราะมีโอกาส เเต่เด็กสมัยนี้อายุเท่ากัน เก่งกว่าคุณธนินนทร์เยอะ เเต่เด็กไม่มีโอกาส … ต้องเปิดโอกาสให้เค้าได้ทำ
ธุรกิจใหม่ๆ ให้คนใหม่ไปทำ จะเร็วกว่า และไม่ต้องไปเสียเวลาล้างสมองคนเก่า…เราต้องเปิดใจ
。
Case studies ไม่ต้องเสียเวลากับมันมาก เพราะหลายเรื่องเอามาใช้จริงกับธุรกิจ หรือบริบทของเราไม่ได้
คนที่ทำธุรกิจเหมือนๆกัน เเต่คนที่ผ่านวิกฤตมา จะเก่งกว่าอย่าไปเสียเวลาเรียนเเต่ทฤษฎี ต้องทำเลย พวก Start up ที่ประสบความสำเร็จ มันไม่เคยมีหลักสูตร ไม่มีตำราที่ไหน มันเกิดจากทำไป แก้ปัญหาไป
เวลาเจอคนเก่ง เราต้องยอมรับ และไปขอเรียนรู้จากเค้า
。
รถไฟความเร็วสูง มีความเสี่ยง แต่มีโอกาสประสบความสำเร็จ ทำแบบ PPP เอาจุดเด่นของเอกชนกับรัฐบาลมา แต่ TOR เขียนไม่ชัด ให้เอกชนไปเสี่ยงคนเดียว
EEC ต้องเกิด ถ้าไม่เกิด ประเทศจะไปต่อไม่ได้ เรากำลังถดถอย เค้ากำลังย้ายฐานไปเวียดนาม อินโดนีเซีย อุตสาหกรรมเก่ามันอิ่มตัวแล้ว ต้องถึงจุดเปลี่ยนเเปลง รถ EV กำลังมา ถุงพลาสติกไม่ใช้แล้ว อุตสาหกรรมใหม่จะไม่มาแทนที่ ถ้าเรายังไม่รีบมีมาตรการดีๆ ไม่ให้เค้าย้ายฐาน… ตรงนี้มองว่ารัฐบาลยังไม่เห็นความสำคัญ
เราต้องรีบคว้าโอกาสช่วงที่อเมริกากับจีนทะเลาะกัน
ทีมา…